วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

พะยอม

พะยอม

พะยอม ชื่อสามัญ Shorea, White meranti
พะยอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G.Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Shorea talura Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)
สมุนไพรพะยอม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แดน (เลย), ยางหยวก (น่าน), กะยอม เชียง เซียว เซี่ย (เชียงใหม่), พะยอมทอง (ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), สุกรม (ภาคกลาง), คะยอม ขะยอม (อีสาน), ยอม (ภาคใต้), ขะยอม (ลาว), พะยอมแดง แคน พยอม เป็นต้น

ลักษณะของต้นพะยอม

  • ต้นพะยอม (ต้นพยอม) มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชีย เช่น ประเทศพม่า ลาว ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมสวยงามมาก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ถ้าหากปลูกในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่ชนิดอื่นอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้นไม้ที่สวยโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทำการตัดแต่งกิ่งแต่อย่างใด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์ไม้ชนิดนี้กำลังเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ โดยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือป่าดิบแล้งทั่วไป ทุกภาคของประเทศที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 60-1,200 เมตร และดอกพะยอมยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย
ต้นพะยอม
พยอม
  • ใบพะยอม ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบเรียบเป็นคลื่น ด้านหลังใบจะมีเส้นใบมองเห็นชัดเจน ใบมีความยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร
ใบพยอม
  • ดอกพะยอม (ดอกพยอม) ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ออกดอกตามส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบ 3 กลีบ กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น โดยจะออกดอกในช่วยเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ดอกพยอม
ดอกพะยอม
  • ผลพะยอม ผลแห้งมีปีกแบบ Samara ลักษณะเป็นทรงไข่และกระสวย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนปีกมี 5 ปีก ประกอบด้วยปีกยาวรูปขอบขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวของปีกประมาณ 10 เส้น และปีกสั้นมี 2 ปีก มีความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด ออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
ผลพะยอม

สรรพคุณของพะยอม

  1. พยอม สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
  2. สรรพคุณสมุนไพรพยอม ดอกใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
  3. ดอกใช้ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม (ดอก)
  4. สรรพคุณต้นพยอมช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน (เปลือกต้น)
  5. เปลือกต้นใช้กินแทนหมาก ช่วยแก้ลำไส้อักเสบได้ (เปลือกต้น)
  6. เปลือกต้นมีสีสาร Tannin มาก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานแผลในลำไส้ได้ (เปลือกต้น)
  7. สรรพคุณพยอมช่วยสมานบาดแผล ชำระบาดแผล ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณบาดแผล

ประโยชน์ของพะยอม

  1. ดอกอ่อนสามารถนำมารับประทานสดได้ หรือจะนำมาลวกเป็นผักไว้จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้ผัดกับไข่ ชุบไข่ทอด หรือจะนำมารับประทานเป็นน้ำซุปร้อน ๆ โดยนำมาแกงส้มก็ได้เช่นกัน โดยคุณค่าทางโภชนาการของดอกพะยอมในส่วนที่กินได้ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต 7.2 กรัม, โปรตีน 4.4 กรัม, ไขมัน 1.1 กรัม, เส้นใย 2.8 กรัม, ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม, และธาตุแคลเซียม 46 มิลลิกรัม
  2. ไม้พะยอม มีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆไปได้ เช่น การทำเสาบ้าน ขื่อ รอด ตง พื้น ทำฝา เรือขุด เครื่องบนเสากระโดงเรือ แจว พาย กรรเชียง คราด ครก สาก ลูกหีบ กระเดื่อง ตัวถังรถ ซี่ล่อเกวียน กระเบื้องไม้ นำไปใช้ทำหมอนรถไฟ และนำมาใช้แทนไม้ตะเคียนทองเพราะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน เป็นต้น
  3. ประโยชน์ของพะยอม เปลือกต้นสามารถใช้รับประทานกับใบพลูแทนหมากได้
  4. เปลือกต้นและเนื้อไม้นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ไว้ใช้รองน้ำตาลสดจากต้นมะพร้าวและน้ำตาลจากต้นตาลโตนด
  5. เปลือกต้นหรือไม้ชิ้นเล็ก ๆ นำมาใช้ใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูดกันเสียได้
  6. ชันที่ได้จากต้นพะยอมสามารถใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ ยาแนวเรือได้
  7. เปลือกต้นมีสารแทนนินชนิด Pyrogallol และ Catechol ในปริมาณสูง จึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง
  8. พะยอมเป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกได้ดีในที่แล้ง ซึ่งอาจปลูกไว้เพื่อความสวยงามให้ร่มเงาตามบ้านเรือนก็ได้ และดอกยังมีความสวยงามมาก แต่จะออกดอกปีละครั้ง และออกดอกพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามมาก
  9. คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดที่ปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะคำว่าพะยอมมีความหมายว่า การยินยอม ตกลง ผ่อนผัน หรือประนีประนอมนั่นเอง และยังเชื่อว่าจะช่วยทำให้ไม่ขัดสนในเรื่องต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องเงินทองด้วย เพราะจะทำให้ผู้คนต่างให้ความเห็นใจนั่นเอง โดยการปลูกเพื่อเอาคุณนั้นให้ปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและควรปลูกในวันเสาร์
ต้นพยอม
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)
ภาพประกอบ : เว็บไซต์ magnoliathailand.com (by สมศักดิ์), www.siamensis.org (by สมศักดิ์), www.the-than.com, www.treeofthai.com
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ต้นกฤษณา

ต้นกฤษณา ชื่ออังกฤษ : Eagle Wood, Lignum Aloes, Agarwood, Aloe Wood, Calambac,
Aglia, Akyaw.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec.
ชื่อวงศ์ : Thymelaeaceae
ชื่อพื้นเมืองอื่น : กฤษณา (ภาคตะวันออก) กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี) ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้) (บาลี) อครุ
ตคร (จีน) ติ่มเฮียง (ไม้หอมที่จมน้ำ)

 ประวัติ
ไม้หอมกฤษณา เป็นไม้หอมที่มีคุณค่ามาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เป็นหนึ่งในของหอมธรรมชาติ
4 อย่าง เรียกว่า จตุชาติสุคนธ์ ที่ใช้เผาและประพรมในพิธีกรรมต่างๆ เป็นเครื่องประทินผิว และใช้เข้าเครื่องยาหอมมาแต่อดีต
รวมทั้งส่งเสริมเป็นเครื่องราชบรรณการและเป็นสินค้าส่งออกที่ขึ้นชื่อของสยามถึงขนาดพระเจ้ากรุงสยาม คือ พระนารายณ์มหาราช
ได้โปรด ให้ผูกขาดการค้าไม้กฤษณาให้ซื้อขายจากหลวง และได้ผูกขาดต่อเนื่อง ทำรายได้แก่ประเทศชาติมาหลายยุคหลายสมัย
เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้ไม้กฤษณาถูกลักลอบโค่นลงเป็นจำนวนมาก เพื่อนำแก่นไม้หอม อันมีราคาสูงไปจำหน่ายยัง
ประเทศกลุ่มอาหรับ
ไม้กฤษณาชนิดที่ดีที่สุดในโลกนั้น พบหลักฐานในสมัยอยุธยา ในจดหมายของบริษัทอินเดียตะวันออก พ.ศ. 2222 ระบุว่าคือ
ไม้หอมกฤษณาจากบ้านนา (Agillah Bannah) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในจังหวัดนครนายก ชนิดนี้พบมากแถวบริเวณกัมพูชา แต่ในปัจจุบัน
ไม้กฤษณาคุณภาพดีที่สุดได้จากเขาใหญ่ ซึ่งเคยมีมากแถบดงพญาไฟ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไม้หอม เพื่อการส่งออกมาแต่อดีต ต้นตระกูล
การหาไม้กฤษณาจะมาจากบ้านบุเกษียร ลำคลองกระตุก บุตาชุ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นทุ่งหญ้า อยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ลักษณะทั่วไป
กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงตั้งแต่ 18-21เมตรขึ้นไปวัดโดยรอบลำต้นยาวประมาณ
1.5-1.8 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ต่ำๆ หรือรูปกรวย ลำต้นเปลาตรง มักมีพูพอนที่โคนต้นเมื่อมีอายุมาก เปลือกนอกเรียบ
สีเทาอมขาว เนื้อไม้อ่อนสีขาว เปลือกหนาประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนทั่วไป เปลือกนอกจะปริเป็นร่อง
เล็กๆ เมื่อมีอายุมากๆ ส่วนเปลือกชั้นในมีสีขาวอมเหลือง
ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมน รูปไข่กลับหรือรูปยาวขอบขนานออกเรียบสลับกัน เนื้อใบเป็นมัน ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้าง
2.5-3.5 เซ็นติเมตร ยาว 7-9 เซ็นติเมตร ใบแก่เกลี้ยงเป็นมัน แต่ใบอ่อนสั้นและคล้ายไหม
ดอก สีขาว ไม่มีกลีบดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ มีกลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศเกิดที่ง่ามใบหรือยอด เป็นแบบ Axillary
หรือTerminal umbles ก้านดอกสั้น มีขนนุ่มอยู่ทั่วไป ตามง่ามใบและดอก ออกดอกในช่วงฤดูร้อน และกลายเป็นผลแก่ในประมาณ
เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ผล เป็นแบบ Capsule รูปไข่กลับค่อนข้างแบนส่วนที่ติดกับขั้วเล็ก เปลือกแข็ง มีขนสีเทา ผลยาวประมาณ 2 .5
เซ็นติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2 เซ็นติเมตร ในเดือนสิงหาคม ผลเริ่มแก่และจะแตกอ้า มีเมล็ด 1 หรือ 2 เมล็ด แบบ Ovoid
ขนาดของเมล็ดยาว5-6 เซ็นติเมตร มีหางเมล็ดสีแดงหรือส้ม ปกคลุมด้วยขนสั้นนิ่มมีสีแดงอมน้ำตาล
ลักษณะของเนื้อไม้ ลักษณะของเนื้อไม้กฤษณาจะมีทั้งเนื้อไม้ปกติ และเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา ซึ่งคนไทยรู้จัก
จำแนกความแตกต่างมาแต่โบราณแล้ว ดังกล่าวถึงในมหาชาติ คำหลวงสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ. 2025 ว่ามีทั้งกฤษณาขาว
(เสตครู) และกฤษณาดำ (ตระคัร) ซึ่งมีเนื้อไม้หอม
เนื้อไม้กฤษณา ปกติจะมีสีขาวนวลเมื่อตัดใหม่ๆ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนจะตรง เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าได้ง่าย ขัดซักเงาไม่ได้ดี ไม่ค่อยทนทาน อยู่ในน้ำจะทนทานพอประมาณ เมื่อแปรรูปเสร็จแล้ว ควรรีบกองผึ่งให้แห้งโดยเร็ว ในการผึ่งจะมีการปริแตกได้ง่าย และมักจะถูกเห็ดราย้อมสีเกาะ ทำให้ไม้เสียสี
ส่วนเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา จะมีสีดำ หนัก และจมน้ำ คุณภาพของเนื้อไม้ขึ้นอยู่กับการสะสมของน้ำมันกฤษณาภายใน
เซลล์ต่างๆ ของเนื้อไม้ องค์ประกอบทางด้านเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณา ประกอบด้วยสารที่เป็นยางเหนียว (Resin) อยู่
มาก สารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม คือ Sesquiterpene alcohol มีหลายชนิด คือ Dihydroagarofuran, b. Agarofuran,
a-Agarofuran, Agarospirol และ Agarol (มีชัย, 2532)
การใช้ประโยชน์
ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ทำกระดานพื้น ฟืน
ด้านเครื่องหอมและประทินโฉม เนื้อไม้กฤษณาเมื่อถูกเชื้อราชนิดหนึ่งเข้าทำลายตามบาดแผลที่กิ่งก้าน ต้น เนื้อไม้ ราก จะกลาย
เป็นสีน้ำตาลถึงสีดำ เรียกว่าเกิด "กฤษณา" มีราคาแพงตามความเข้มของสีกฤษณา มีการทดลองเจาะลำต้น กิ่งก้านต้นกฤษณา แล้ว
ใส่เชื้อราเข้าไป เพื่อเร่งการเกิดสารดังกล่าว แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร น้ำมันที่กลั่นออกมาจากกฤษณาหอมรุนแรงมาก ใช้
ในการทำเครื่องหอม เครื่องสำอาง ทำธูป เป็นส่วนผสมยา ทำลูกประคำ และหีบใส่เครื่องเพชร ชาวอาหรับ อิสลาม นิยมจุดให้กลิ่นมาก
ปัจจุบันนี้มีการตัดชิ้นไม้กฤษณาสดมากลั่น
ด้านเปลือก ให้เส้นใย ใช้ทำเสื้อผ้า ถุงย่าม ที่นอน เชือก และกระดาษ
ด้านสมุนไพร สรรพคุณตามตำราไทยคือ
เนื้อไม้ บำรุงโลหิตในหัวใจ บำรุงตับและปอดให้เป็นปกติ แก้ลม แก้ลมซาง แก้ลมอ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มชื่นใจ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
แก้ไข้ บำรุงโลหิต รักษาโรคปวดข้อ
แก่นไม้ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับและปอดให้ปกติ
น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน แก้มะเร็ง
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ บำรุงโลหิต แก้ตับและปอดพิการ แก้ไข้เพื่อเสมหะและลม บำรุงโลหิตในหัวใจ ทำตับปอดให้ปกติ คุมธาตุ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดความดันโลหิต
ด้านการเป็นไม้ประดับ ความสนใจของไม้ต้นนี้คือ รูปทรงของลำต้นเป็นรูปเจดีย์คว่ำใบหนาเป็นมันดูเข้มแข็ง และไม่ผลัดใบ
เป็นไม้ที่หายาก และมีคุณค่าสูงมาก ถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ปลูกไว้เป็นไม้ประดับได้สวยงาม แต่ควรพิจารณาพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม
การตรวจคุณภาพของไม้กฤษณา
การตรวจคุณภาพของไม้กฤษณา ถ้าทิ้งท่อนกฤษณาลงในน้ำท่อนที่จมน้ำมีคุณภาพดีเลิศเรียก "Gharki" ชนิดนี้เนื้อไม้
จะเป็นสีดำ มีกลิ่นหอม นิยมใช้ทางยา ถ้าท่อนใดลอยปริ่มน้ำมีสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำเงินเข้ม จะเป็นกฤษณาชนิดกลาง
เรียก "Neem Gharki" สำหรับท่อนที่ลอยน้ำเป็นกฤษณาชนิดเลวเรียก "Samaleh" พบอยู่ทั่วๆไป เมื่อเผาเนื้อไม้เกือบไม่มีกลิ่นหอม
เชิงเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันคนเริ่มมีความสนใจและปลูกกันมากขึ้น เพราะเห็นว่ามีช่องทางที่จะทำเป็นการค้าขายได้ แต่ความเป็นจริงยังไม่
สามารถหาข้อสรุปได้ ถึงเรื่องของปริมาณจำนวนแผลที่จะเกิดขึ้นต่อต้นเป็นเท่าไรและจะเกิดผลผลิตเท่าไร ทั้งนี้จะต้องอยู่ในระยะเวลา
ที่กำหนดด้วย คือยังไม่สามารถที่จะคาดการณ์ถึงผลกำไรว่าจะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ ในแง่ของการส่งเสริมคิดว่าไม่แนะนำให้ปลูก
เพราะว่าดูแลยาก จะต้องดูถึงสภาพดินและพันธุ์ไม้ด้วย อาจจะไม่คุ้มกับทุน แต่ถ้าจะปลูกแบบแซมกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ ปลูกรอบสวน
ปลูกบังลม แล้วปล่อยให้โตเองโดยที่ไม่ต้องดูแลมาก แต่อาจจะทำให้เกิดแผลไปเรื่อยๆ ไม่ควรปลูกโดยใช้พื้นที่จำนวนมากหรือเป็นป่า
เพราะผลผลิตอาจเกิดน้อย ส่วนใหญ่มักนำเนื้อไม้ไปทำพวกกล่องเพชร ลูกประคำ คันธนู ฯลฯ แต่คุณค่าจริงๆ อยู่ที่น้ำมันกฤษณา จึง
ต้องใช้เวลานานในการปลูก เพราะฉะนั้นจึงจะต้องมีทุนจำนวนมากและมีพื้นที่
ข้อแนะนำสำหรับเกษตรกรผู้สนใจ
1. สำหรับเกษตรกรที่มีทุนมาก และสามารถรอได้ จะปลูกเป็นผืนป่าก็ได้
2. สำหรับเกษตรกรที่มีทุนน้อย ควรจะปลูกแบบรอบๆ สวนมากกว่า
ที่มา
http://it.doa.go.th/aquilaria/index.html

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

'มะรุม' ต้นไม้มหัศจรรย์

'มะรุม' ต้นไม้มหัศจรรย์

ฝักมะรุมจัดเป็นผักพื้นบ้านที่จะหารับประทานได้ง่ายและมีวางขายในช่วงต้นฤดูหนาว ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านจะได้บริโภคยอดมะรุมใบอ่อน, ช่อดอกและฝักอ่อนได้ตลอดทั้งปีโดยนำมาต้มหรือลวกให้สุกจิ้มกับน้ำพริกได้หลากหลายชนิด

หรือจะใช้ยอดอ่อนและฝักมะรุมมาทำ แกงส้ม มีหลายคนนำช่อดอกมะรุมไปดองเก็บไว้บริโภคกับน้ำพริก ในทางพฤกษศาสตร์จัดให้ต้นมะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่คนไทยปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วขณะนี้มีเรื่องที่น่ายินดีที่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า “มะรุม” มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก

ในใบมะรุมจะมีวิตามินซีมากกว่าส้ม ถึง 7 เท่า มีธาตุแคลเซียมมากกว่านมถึง 4 เท่า มีวิตามินเอมากกว่าแครอท 4 เท่า มีโปรตีนมากกว่านม 2 เท่า และมีธาตุโพแทสเซียมมากกว่ากล้วย 3 เท่า

ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว จากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี บอกว่าในใบมะรุมมีสารอยู่หลายชนิดดังที่ได้กล่าวมา ในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ใช้ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถ้ามีการใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบันจะช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรครูมาติซั่มและรักษาโรคตาได้เกือบทุกชนิด ภญ.ผกากรองย้ำว่าจะใช้ใบมะรุมเพื่อการรักษาโรคควรใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล พบว่าสารสกัดน้ำของมะรุมน่าจะเป็นสมุนไพรที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ส่วนงานวิจัยในประเทศอินเดียได้ใช้แอลกอฮอล์สกัดเมล็ดของมะรุมมาให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นข้ออักเสบ พบว่าสารสกัดมะรุมช่วยลดการอักเสบ แต่เป็นการทดลองในหนูเท่านั้น ถึงแม้ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันชัดเจนว่ามะรุมต้านความชราได้ แต่ได้มีการวิเคราะห์พบว่าในมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญอยู่หลายตัวซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้คนญี่ปุ่นได้มีการผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายและในประเทศเริ่มมีผลิตเป็นแคปซูลใบมะรุมจำหน่ายกันบ้างแล้ว แต่ในขณะนี้ทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังไม่มีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากมะรุม เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาพิษวิทยาที่อาจจะเกิดจากการบริโภคมะรุมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ที่ผ่านมาคนไทยบริโภคมะรุมเป็นอาหาร

มีการวิจัยได้สรุปว่าการกินมะรุมจะมีผลต่อการลดไขมันในร่างกาย ดังนั้นหากการกินมะรุมมีผลทำให้ขับไขมันออกมาทางอุจจาระมากขึ้น นั่นก็หมายถึงไขมันที่กินเข้าไปไม่ถูกดูดซึมในร่างกาย ซึ่งก็ไม่ได้ดีเสมอไป เพราะโดยปกติร่างกายเราต้องการไขมันในการใช้เป็นพลังงานและทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติประมาณวันละ 15-30%.

ที่มา : น.ส.พ.เดลินิวส์ วันที่ 10 เมษายน 2552
http://www.raorakpar.org/raorakparboard/index.php?topic=502.0

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หูกระจง หรือ แผ่บารมี

หูกระจง หรือ แผ่บารมี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia ivorensis Chev.

ชื่อสามัญ Ivory Coast almond, Black Afara, Idigbo (Nigeria), Emeri (Ghana), Framire (Ivory Coast)

ถิ่นกำเนิดในป่าทวีปอาฟริกาตะวันตก แถบเส้นศูนย์สูตร ตั้งแต่ประเทศ กีนี (Guinea) ไปตลอดจนถึง คาเมรูน (Cameroon)

เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเพื่อใช้เนื้อไม้ ในแถบถิ่นกำเนิด

เป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และมีอายุยืน

ลักษณะ: เป็นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงามแตกกิ่งเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 50-100 ซม. แม้หูกระจงเป็นไม้ผลัดใบแต่จะผลัดใบน้อยกว่าหูกวาง โดยปกติเป็นไม้ที่ชอบน้ำเมื่อนำไปปลูกในกระถางหรือลงดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม และสม่ำเสมอใบแทบจะไม่ร่วงเลย และที่ตั้งชื่อว่า หูกระจงเป็นเพราะลักษณะใบคล้ายกับหูกวาง แต่ใบหูกระจงจะมีขนาดเล็กกว่า สำหรับดอกมีสีขาวคล้ายดอกกระถินณรงค์ เมล็ดหูกระจงจะคล้ายกับเมล็ดพุทรา และ ปัจจุบันการขยายพันธุ์ต้นหูกระจงนิยมใช้วิธีเพาะเมล็ดเนื่องจากเจริญเติบโตได้เร็ว และได้ทรงพุ่มที่สวยงาม นอกจากจะเหมาะต่อการตกแต่งสวนแล้วต้นหูกระจงเหมาะที่จะใช้ประดับริมถนน หรือเกาะกลางถนนเนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาได้ดีพอสมควร ต้นหูกระจงที่นำมาตกแต่งสวน หรือตกแต่งภูมิทัศน์ควรมีขนาดของลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 นิ้วฟุตขึ้นไป สำหรับราคาซื้อ-ขายต้นหูกระจงจะยึดหลักเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นเป็นหลักคือเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้วราคาประมาณ 1,000-1,500 บาท เหตุผลหนึ่งที่คนยังรู้จักต้นหูกระจงไม่มากนักเนื่องจากจัดเป็นไม้ประดับที่หายาก และราคาสูงอยู่



ที่มา

http://th.wikipedia.org

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ต้นตะกู

ต้นตะกู
เป็นไม้ยืนต้นซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์จากประเทศไทยแล้ว เป็นไม้มงคล โบราณเชื่อว่าจะขึ้นเป็นคู่ๆ ในอาณาเขตบ้านของผู้มีบุญ

ปัจจุบันกรมป่าไม้จัดไม้ตะกูเป็นหนึ่งในไม้ป่ายืนต้นที่ปลูกทางด้านเศรษฐกิจ ของไทยอันดับที่ 21 (เป็น 1 ใน 60 ชนิด) เป็นไม้ที่เหมาะกับการปลูกป่าใหม่ที่ให้ผลเร็ว เป็นไม้โตเร็ว ลำต้นเปล่าตรงมีขนาดใหญ่ได้เนื้อไม้มาก ส่วนเสียน้อย ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ทดแทนไม้สักซึ่งเป็นไม้หวงห้าม เจริญเติบโตช้า
เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณไม้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จึงต้องนำเข้าไม้แปรรูปจากต่างประเทศปีละกว่า 50,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลการค้าทุกปี การปลูกต้นตะกูจึงนับเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของการปลูกป่าใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งทางสิ่งแวดล้อมและทางเศรษฐกิจของไทยได้เร็วที่สุด

ต้นตะกูอาจจะไม่คุ้นหู เพราะใกล้สูญพันธ์ในประเทศไทยแล้ว ต้นตะกูยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนต่อความแห้งแล้ง ปลูกง่าย โตเร็ว เพียงแต่ช่วง1 – 3 เดือนต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ หากมีอายุ 2 ปีขึ้นไปจะทนต่อสภาวะน้ำท่วมและโดนไฟป่าไม่ตาย ต้นตะกูเริ่มมีการปลูกบ้างแล้วในหลายพื้นที่ และน่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร หรือนักลงทุน ได้ไม่น้อยกว่า ไม้สัก ยางพารา หรือยูคาลิปตัส

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะของไม้ตะกู :
ตะกูเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น เปลือกแตกเป็นร่องละเอียดตามยาว สีออกเทาปนน้ำตาล
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่ กว้าง 7.5-17.5 ซม. ยาว 20 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ๆ และมีสีเข้ม ส่วนท้องใบจะมีขนสั้น ๆ แทบมองไม่เห็นแต่สัมผัสนุ่มมืออยู่ด้านล่าง เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เส้นแขนงใบมี7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้าน และใบจะหลุดร่วงไปเองเมื่อแก

ดอกตะกูมีขนาดเล็กติดกันแน่นอยู่บนช่อดอกแบบ Head สีขาวปนเหลืองหรือสีส้มมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกแน่น ลักษณะกลมเดี่ยว ไม่เกิน 2 ช่อ อยู่ตามปลายกิ่งขนาด 4-5 ซม. ดอกเล็กอัดกันแน่น กลีบรองดอกเป็นหลอดสั้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ปลายกลีบหยักมนและแผ่ออกเล็กน้อยตะกูเป็นไม้ที่ออกดอกเมื่ออายุยังน้อย พบว่าเริ่มออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 ปี สำหรับต้นที่โตเต็มที่แล้วจะออกดอกในช่วงระหว่างเดือน มิถุนายน-กันยายน หลังจากนั้นผลจะแก่ในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม ผลตะกู เป็นผลรวมอุ้มน้ำ เกิดจาก วงกลีบรองดอกของแต่ละดอกเชื่อมติดกันโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก เรียกผลแบบนี้ว่า Fruiting Head มีขนาดความโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-6 ซม

ไม้ตะกูอยู่ในวงศ์ Rubiaceae ไม้ตะกูเป็นไม้เบิกนำที่เจริญเติบโตได้เร็วมากชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นกลุ่มเป็นก้อน ในพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ร้าง เป็นไม้ที่มีวัยตัดฟันสั้น สามารถขึ้นได้ในสิ่งแวดล้อมหลายสภาพ ความสามารถในการแตกหน่อสูง หลังจากตัดต้นทิ้งสามารถแตกหน่อขึ้นจากตอได้ถึง 1-4 หน่อ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงทำลายน้อย
เนื้อไม้สามารถนำไปใช้เป็นไม้แปรรูปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทำเยื่อและกระดาษ ไม้บาง ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด พาร์ติเคิลบอร์ด เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ไม้แบบ ไม้กระดาน ไม้หน้าสาม งานฝีมือ รูปแกะสลัก และใช้ในโรงงานทำไม้ขีดไฟได้ดี

การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา :
ไม้ตะกูพบในประเทศอินเดีย เนปาล ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ ศรีลังกา จีน ภูมิภาคอินโดจีน ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ฯลฯ ไม้ชนิดนี้เชื่อว่าเป็นไม้ที่มีขอบเขตการกระจายพันธุ์กว้างชนิดหนึ่ง โดยกระจายพันธุ์จากเนปาลและอัสสัมมาทางทิศตะวันออกจนถึงแถบอินโดจีน และกระจายพันธุ์ลงไปทางใต้แถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย จนกระทั่งถึงหมู่เกาะนิวกินี สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000-5,000 มิลลิเมตร

ในประเทศไทยตะกูมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยพบที่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต โดยมักพบูขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งร้างไว้ หรือสองข้างทางรถยนต์ที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น เช่นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง เป็นต้น

ลักษณะเด่นของตะกู :
1.โตเร็ว ต้นตรง ไม่มีกิ่งตามต้นเกะกะเนื่องจากต้นไม้จะทำการสลัดกิ่งตลอดเวลาที่เจริญเติบโตแปรรูปได้ปริมาณไม้ต่อต้นสูง
2.ทนแล้ง
3.ทนน้ำหรือน้ำท่วมขังตะกูสามารถอยู่รอดได้ในพื้นที่น้ำท่วมขังและสามารถเจริญเติบโตได้เมื่อไม้ฟื้นตัวหลังน้ำลด
4.ตะกูจะมีการงอกขึ้นใหม่ได้อีกจากโคนเดิมหลังจากการตัดฟันซึ่งเป็นลักษณะของไม้โตเร็วทำให้ผู้ปลูกไม่ต้องลงทุนในการปลูกต้นกล้าอีกในหลายรอบ

ประโยชน์ของต้นตะกู :

นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิด ทำไม้กระดาน เสาบ้าน ประตู หน้าต่าง วงกบ ทำเรือขุด เพราะว่าต้นไม้มีขนาดใหญ่ มีเนื้อไม้ที่ละเอียด มีน้ำหนักเบากว่าไม้ประดู่หรือไม้มะค่า น้ำหนักใกล้เคียงกับไม้สักและนำไปทำกลอง ด้ามปืน และคุณสมบัติพิเศษของต้นตะกูอีกอย่าง คือ ปลวกหรือมอดไม่กินเหมือนไม้สัก

ตะกูมีเนื้อไม้ละเอียด สีเหลืองหรือขาว ใช้ทำพื้นและฝาที่ใช้งานในร่ม รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ และงานประดิษฐ์ที่ทรงคุณค่ามากมาย เนื่องจากไม้ตะกูถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง จึงถูกนำมาแกะสลักเป็นรูปเคารพต่าง ๆ มากมาย และเป็นที่นิยมในหลายประเทศทั่วโลก นิยมปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการใช้สอย
และปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ หรือไม้เศรษฐกิจ ในประเทศทางแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

การใช้ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไม้ตะกู ได้แก่ ใช้ในการทำเยื่อและกระดาษที่ประเทศฟิลิปปินส์พบว่าไม้ตะกู อายุ 3 ปี ก็สามารถนำเยื่อไปทำกระดาษเขียนหนังสือและกระดาษหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดี และยังพบว่าไม้ตะกูเป็นเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง นอกจากนี้ตะกูยังมีคุณสมบัติดีเด่นในแง่ที่สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดีจึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็กไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษ โดยใช้รอบตัดฟันเพียง 5-10 ปี และจากเอกสารไม้อัดไทยบางนาได้แนะนำว่า ไม้ตะกูเป็นความหวังใหม่ในอนาคตสามารถปลูกเป็นสวนป่าเอกชน เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุง ไม้ตะกูนับว่าเป็นไม้เศรษฐกิจยุคใหม่เพื่อตัดและแปรรูป ป้อนให้กับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่ง

สาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ตะกูถูกจัดเป็นไม้มงคล เพราะในอินเดียเชื่อกันว่า เป็นต้นไม้ที่โปรดปรานของพระกฤษณะ และชาวอินเดียนิยมนำดอกตะกู ไปใช้ในการบูชาเทพเจ้า และยังนิยมนำดอกตะกูไปสกัดเพื่อเป็นส่วนประกอบของหัวน้ำหอม ในประเทศไทยการพบเห็นูโดยทั่วไป มักจะพบเป็นกลุ่มอยู่ในป่า สำหรับในบ้านคนหรือตามข้างทางทั่วๆ ไปมักจะพบขึ้นเป็นคู่เสมอ โดยจะมีระยะห่างกันเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตร

ชื่ออื่น ๆ ของต้นตะกู :กระทุ่ม (มีที่มาจากคำว่า กทัมพ ในภาษาบาลี)
กรุงเทพฯ เรียก : กระทุ่ม , กระทุ่มบก
ภาคเหนือเรียก : ตุ้มหลวง , ตุ้มก้านซ้วง , ตุ้มก้านยาว
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก : ปะแด๊ะ เปอแด๊ะ สะพรั่ง
ขอนแก่น : ตุ้มพราย , ทุ่มพราย
สุโขทัย จันทบุรี นครศรีธรรมราช : ตะกู
ภาคตะวันออกเรียก : แคแสง , ตะโกส้ม , ตะโกใหญ่
ภาคใต้เรียก : ตุ้มขี้หมู , โกหว่า , กลองประหยัน

ในเมืองไทยพบได้หลายหลายสายพันธุ์ ชื่อที่เห็นเรียกกันหลากหลายในประเทศไทยนั้น เพียงแต่เป็นไม้ที่อยู่ในวงเดียวกัน คือกระทุ่ม แต่ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของสายพันธุ์ออกไป แต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะดอกและใบที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยและมีทั้งสายพันธุ์ที่โตเร็วโตช้าแตกต่างกัน บางสายพันธุ์ก็เติบโตได้แต่เฉพาะในที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์ก็สามารถเติบโตได้ทั้งที่ใกล้น้ำและที่แล้ง การลงทุนปลูกูต้องเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตเร็วและจะให้ดีควรเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ เช่นตะกู ก้านแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทางเราแนะนำ เนื่องจากมีการวิจัยและคัดเลือกสายพันธุ์มาแล้ว ต้นกล้าที่ได้จะเป็นต้นพันธุ์คุณภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งไม้ที่คุ้มค้าสร้างผลกำไรที่แน่นอนต่อผู้ปลูก

อ้างอิงจาก
www.tontagu.net
www.thaitagu.com
www.tontagu.com/